วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

Super Full Moon

Super Full Moon

Super Full Moon
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) ที่ จ.อุบลราชธานี 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Nonglak Ket 
วงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากอำเภอเมือง สงขลา   
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @Krobkreb_notep
Super Full Moon จากทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @december_thai 
Super Full Moon จาก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จาก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี  
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @NoppPunya
Super Full Moon ปรากฏการณ์ซูเปอร์ฟูลมูน 10 สิงหาคมนี้ ซึ่งหลายพื้นที่มองเห็นแล้ว พร้อมรอลุ้นชมฝนดาวตกเพอร์เซอุสในคืนวันที่ 12 ส.ค. วันแม่ 

          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เปิดเผยว่าคืนวันที่ 10 สิงหาคม 2557 ดวงจันทร์จะกลมโตและมีขนาดใหญ่ที่สุดในรอบปี เนื่องจากดวงจันทร์จะโคจรมาใกล้โลกที่สุดและเป็นคืนเดือนเพ็ญ พร้อมทั้งในคืนวันที่ 12 สิงหาคม อาจได้ร่วมฉลองวันแม่กับฝนดาวตกเพอร์เซอุส จนถึงเช้ามืดวันที่ 13 สิงหาคม โดยคาดว่าจะมีฝนดาวตกจำนวน 75-100 ดวงต่อชั่วโมง แต่อาจไม่เห็นเนื่องจากแสงจันทร์รบกวน

          ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก คนทั่วไปมักเรียกว่า Supermoon มีผู้นิยามว่า หมายถึง ดวงจันทร์เต็มดวงที่มีระยะห่างจาก โลกน้อยกว่า 360,000 กิโลเมตร เกิดครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2557 ที่ระยะห่าง 358,258 กิโลเมตร แต่ในคืนวันที่ 10 สิงหาคมนี้ ดวงจันทร์จะเต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 356,896 กิโลเมตร จึงเรียกว่า Super Full Moon

          ล่าสุดในหลายพื้นที่เห็น Super Full Moon ดวงจันทร์เต็มดวง แล้ว และมีการถ่ายภาพแชร์บนโซเชียล ด้าน เจฟฟ์ เชสเตอร์ นาวิกโยธินประจำหอดูดาวแห่งสหรัฐฯ กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ใช่ปรากฏการณ์พิเศษแต่จะเกิดขึ้นทุก ๆ 13 เดือนกับอีก 18 วัน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวมีมานานแล้ว แต่เพิ่งเป็นที่รู้จักเมื่อปีที่ผ่านมา เนื่องจากหลายพื้นที่ทั่วโลกมีโอกาสเห็นพร้อมกัน เป็นเพราะสภาพท้องฟ้าเอื้ออำนวย ซึ่งโดยส่วนมากช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์นี้จะเป็นช่วงที่ท้องฟ้าถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอก ทำให้เป็นอุปสรรคในการมองเห็น  
Super Full Moon จากประชาชื่น กรุงเทพฯ

ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากประชาชื่น กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 21.07 น. 10 ส.ค. 57
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์‏ @iammiel_555
Super Full Moon จากแขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากแขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @kannika333
Super Full Moon จากแขวงสุริยวงศ์ เขตบางแค กรุงเทพฯ
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากแขวงสุริยวงศ์ เขตบางแค กรุงเทพฯ 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @ltsaraa
Super Full Moon จากหนองแขม กรุงเทพฯ
Super Full Moon จากหนองแขม กรุงเทพฯ
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากหนองแขม กรุงเทพฯ 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ ‏@yuiiless_b 
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จาก สะพานพระราม 8 กรุงเทพฯ
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากสะพานพระราม 8 กรุงเทพฯ 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @hippochi 
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) ที่กาฬสินธุ์
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) ที่กาฬสินธุ์ 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @kukkik852 
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) ที่ถนนเอกชัย กรุงเทพฯ 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @katai_knk
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากนนทบุรี
ดวงจันทร์เต็มดวง (Super Full Moon) จากนนทบุรี
ขอขอบคุณภาพประกอบจากทวิตเตอร์ @JYongeffect
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ข่าวสด 
นอกจากนี้ ช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 12 สิงหาคมจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 13 สิงหาคม ในเวลาประมาณ 01:00-04:00 น. จะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอุส บนท้องฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จุดศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณระหว่างกลุ่มดาวค้างคาว (Cassiopeia) และกลุ่มดาวเพอร์เซอุส (Perseus) โดยในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีจำนวนดาวตกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าถึง 75-100 ดวงต่อชั่วโมง 
          อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคม พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นช่วงฤดูฝน และในคืนวันที่ 12 สิงหาคมนี้ จะมีแสงจันทร์รบกวน ทำให้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ อาจทำให้ในปีนี้ไม่สามารถมองเห็นฝนดาวตกมากเท่าที่ควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น